“Ai-YARA: ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของช้าง”

ความเป็นมาของโครงการ พื้นที่ทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน ที่สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางเกษตรกรรม ทั้งผลไม้ทางเศรษฐกิจของจังหวัด เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มะละกอ กล้วย ขนุน เป็นต้น และยังสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของเกษตรกร ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อชาวบ้านในเขตพื้นที่

คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ตระหนักถึงความเดือนร้อนของชาวบ้าน หลังจากได้รับทราบปัญหาจากผู้นำชุมชน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อบริการวิชาการให้กับชาวบ้านในเขตพื้นที่ดังกล่าว โดยวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) วิเคราะห์ภาพจากกล้องที่ติดตั้งไว้บริเวณที่มีการผ่านเข้าออกของช้าง บนพื้นที่รอยต่อจากป่าสู่ชุมชน เพื่อตรวจจับและแจ้งเตือนการบุกรุกของช้าง และดำเนินการแจ้งเตือนชาวบ้าน และชุดอาสาสมัครเพื่อผลักดันช้างก่อนก่อความเสียหายกับพื้นที่เกษตรกรรมรวมไปถึงชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน

ขอขอบคุณบริษัท ธิงส์อนาไลติค จำกัด ที่อำนวยความสะดวกให้อุปกรณ์ในการทดลองและเจ้าหน้าที่ของทางบริษัทมาช่วยติดตั้งและเซ็ตระบบ และบริษัท ทริปเปิลทีบรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่เฝ้าระวังช้างทำให้ได้ภาพและสัญญาณที่ดีมาก ๆ รวมถึงทางผู้ใหญ่บ้านทุกท่าน ชมรมเพื่อนช้าง ทุ่งควายกิน ที่อำนวยความสะดวกในการเข้าพื้นที่และพาคนมาช่วยทำงาน ทางคณะต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

Plus IT Solution

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาญ ทุมทอง

อาจารย์คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โครงการนี้ สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรที่จะได้รับผลกระทบจากการเข้าพื้นที่ของช้าง โดยมีระบบสำหรับตรวจจับและแจ้งเตือนช้างบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในเขตพื้นที่ โดยแจ้งเมื่อตรวจพบช้างให้กับชุดอาสาสมัครสำหรับผลักดันช้าง ก่อนก่อความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรม ชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน

-->