Bettter digital experience with computer science program.

Get Started

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

ความสำคัญ

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถนำความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ใน การทำงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นในสังคมไทยอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านชีวิตประจำวัน และ ด้านการเป็นเครื่องมือสำคัญในเกือบทุกสาขาวิชา ดังนั้นบัณฑิตซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์ จำนวนมากจึงจำเป็นในการพัฒนาประเทศ

ปรัชญา

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถนำความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน

  • 1.ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Computer Science

  • ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
    ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
    ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Computer Science)
    ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Computer Science)

  • 1.มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการ พัฒนาประเทศ

    2.มีเจตคติที่ดีและตระหนักในคุณค่าของวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีคุณภาพ และมุ่งมั่นในการพัฒนา วิทยาการคอมพิวเตอร์ให้เกิดความก้าวหน้า

    3. มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่จะนำไปศึกษาต่อในระดับสูงได้

    4. มีความสามารถนำความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในวิชาการสาขาอื่นๆได้

    5. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางอาชีพ

  • (1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
    (2) หรือมีคุณสมบัติอื่นตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
    (3) ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    •     โปรแกรมเมอร์และนักพัฒนาโปรแกรม

          วิทยาการข้อมูล

          การจัดการฐานข้อมูลและวิเคราะห์ประมวลผล

          การจัดการด้านไอทีและบริหารโครงการ

          วิเคราะห์และออกแบบระบบ

          วิทยากรอบรม/บรรยายด้านไอที

 

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี (สามารถเรียนจบภายใน 3 ปีครึ่ง) รับนักศึกษาทั้งไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ชื่อวุฒิการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

Download เล่มหลักสูตร

รายชื่อวิชาที่เรียนในแต่ละชั้นปี (หมายเหตุ: อาจมีการเปลี่ยนแปลงวิชาตามความเหมาะสม)

เทอมที่ 1

คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์

Mathematics for Computer Science

แคลคูลัส 1

Calculus 1

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1

Computer Programming I

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

H.M. King Bhumibol Adulyadej's Philosophy for Sustainable Development

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English for Communication

กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป

General Education

เทอมที่ 2

ความน่าจะเป็นและสถิติเบื้องต้น

Introduction to Probability and Statistics

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2

Computer Programming II

กฏหมายและจรรยาบรรณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Laws and Ethics in Information Systems

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม

Data Structure and Algorithm

ความรู้ในยุคดิจิทัล

Life in the digital age

กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป

General Education

เทอมที่ 1

ดีสครีตและการคำนวณ

Discrete Mathematics and Calculation Theory

ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม

Computer System and Architecture

ระบบการจัดการฐานข้อมูล

Database Management System

ดิจิทัลเบื้องต้น

Introducation to Digital Concept

กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป

General Education

กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป

General Education

เทอมที่ 2

สถิติเพื่อการวิจัย

Statistics for Research

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Data Communications and Computer Networks

การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

System Analysis and Design

ระบบปฏิบัติการ

Operating System

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

Human-Computer Interaction

กลุ่มวิชาเอกเลือก

Elective Education

เทอมที่ 1

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object Oriented Programming

การเขียนโปรแกรมเว็บ

Web Programming

สัมมนาวิทยาการคอมพิวเตอร์

Seminar in Computer Science

เทอมที่ 2

ปัญญาประดิษฐ์

Artificial Intelligence

การพัฒนาแอพลิเคชันบนอุปกรณ์มือถือ

Mobile Application Development

เตรียมสหกิจศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

The pre-cooperative education course of Computer Science

การเรียนรู้ของเครื่องจักรและการทำเหมืองข้อมูลเชิงประยุกต์

Practical Machine Learning and Data Mining

เทอมที่ 1

โครงงานวิจัย

Research Project

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์

Field Experience in Computer

เทอมที่ 2

สหกิจศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

The cooperative education course of Computer Science

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 125 หน่วยกิต

  • 1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    1) กลุ่มวิชาคุณธรรม จริยธรรม 9 หน่วยกิต
         บังคับเรียน 3 หน่วยกิต
    2) กลุ่มวิชาการนำความรู้สู่สากล 6 หน่วยกิต
    3) กลุ่มวิชาความอดทน 6 หน่วยกิต
    4) กลุ่มวิชาฉลาดคิดและการจัดการ 6 หน่วยกิต
    5) ให้เลือกกลุ่มวิชาใดวิชาหนึ่งอีก 3 หน่วยกิต

  • 1) วิชาแกน 12 หน่วยกิต
    2) วิชาเฉพาะด้าน 45 หน่วยกิต
       - กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
       - กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 6 หน่วยกิต
       - กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 18 หน่วยกิต
       - กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 12 หน่วยกิต
       - กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิต
    3) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
    4) วิชาประสบการณ์ภาคสนามและสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต

  • ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยไม่ซ้ำ กับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การ สำเร็จหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
Bachelor of Science Program in Computer Science

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการ แก้ปัญหาทางการคำนวณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประดิษฐ์และพัฒนาโปรแกรม/งานทางด้านคอมพิวเตอร์ สามารถนำความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปใช้ใน การทำงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

งานวิจัย

  • - Sasikan Plailang, Intareeya Sutthivanich, Songporn Pramarn, Kumpee Teeravech, Patikom Thongjing, Topthong Chanchroen, & Suriporn Charungthanakit.(2019). Land use change detection and its implication of tha mai area in chathaburi province using lansat 8 data. The 40th Asian Conference on Remote Sensing. Daejeon, Korea October 14-18, 2019, 1-10.
  • - วิสันต์ พูนชัย, วิกันยา ประทุมยศ, เลิศชัย จิตร์อารี, นที ยงยุทธ และ เจนวิทย์ วารีบ่อ (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ด้วย PC Model. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14 (1) เดือนมกราคม -เมษายน พ.ศ. 2563, 88-97.
  • - Rattarom, S., Uttama, S., & Aunsri, N. (2019). Model Construction and Validation in Low-cost Interpolation-Based Gaze Tracking System. Engineering Letters, 27(1).

อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ การประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพวรรณ์ นิยมวงศ์
Asst.Prof.Tippawan Niyomwong

ประธานสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาศาสตรมหาบันฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วิทยาศาสตรบันฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏเพชรบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฏิคม ทองจริง
Asst.Prof.Patikom Thongjing

อาจารย์ประจำสาขา

วิทยาศาสตรมหาบันฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

อาจารย์วิสันต์ พูนชัย
Ajarn.Wisan Poonchai

อาจารย์ประจำสาขา

วิทยาศาสตรมหาบันฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วิทยาศาสตรบันฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏเพชรบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาญ ทุมทอง
Asst.Prof.Wichan Thumthong

อาจารย์ประจำสาขา

กำลังศึกษาต่อ ป.เอก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ดร.สุวิชยะ รัตตะรมย์
Dr.Suwitchaya Rattarom

อาจารย์ประจำสาขา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วิทยาศาสตรมหาบันฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

-->