RBRU MikroTik Academy

Get Started

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567

ความสำคัญ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรที่สร้าง บัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จะ ตอบสนองความต้องการก าลังคนด้านดิจิทัล ในการบริหารจัดการการดำเนินงานทางธุรกิจให้เป็นไปอย่างมี ระบบ มีความปลอดภัยและเป็นขั้นตอน โดยการประยุกต์องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้าน กระบวนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ด้านกระบวนการพัฒนาระบบ และการประยุกต์ใช้โปรแกรม ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจหรือองค์การสามารถ บริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านการวิเคราะห์ ออกแบบ การพัฒนา และประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งมีความชำนาญทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและประเทศอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

  • 1.ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering

  • ชื่อเต็มภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
    ชื่อย่อภาษาไทย : วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ )
    ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Computer Engineering)
    ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Eng. (Computer Engineering)

  • 1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะการปฏิบัติและมีความเชี่ยวชาญทางด้านด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    2. เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการวางแผน ออกแบบ และการตัดสินใจเพื่อความสำเร็จขององค์กรได้
    3. เพื่อให้บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีในการประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    4. เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

  • (1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
    (2) หรือมีคุณสมบัติอื่นตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
    (3) ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    •     - วิศวกรเครือข่าย

          - นักวิชาการคอมพิวเตอร์

          - วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนาระบบสารสนเทศ

          - วิศวกรระบบความปลอดภัยบนไซเบอร์/p>

          - วิศวกรสนับสนุนการขายด้านระบบเครือข่าย

          - วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์

สำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 4 ที่ได้ผ่านการคัดเลือกให้ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ทางหลักสูตรจะมีการสำรวจความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ที่ต้องการจากผู้สำเร็จการศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 หน้า 70 เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากผู้ประกอบการที่รับนิสิตสหกิจศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของกระบวนการ จัดการเรียนการสอนต่อไป นอกจากนี้เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาไปแล้วอย่างน้อย 1 ปี ทางหลักสูตรจะมีการสำรวจความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง ทบทวน หรือกำหนดผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังต่อไป

Download เล่มหลักสูตร

รายชื่อวิชาที่เรียนในแต่ละชั้นปี (หมายเหตุ: อาจมีการเปลี่ยนแปลงวิชาตามความเหมาะสม)

เทอมที่ 1

เครือข่ายเบื้องต้น

Introduction to Networks (CCNA1)

จรรยาบรรณและการเตรียมความพร้อมสำหรับวิศวกรรม

Ethics and Readiness Preparation for Engineering

กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์

General Education

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

H.M. King Bhumibol Adulyadej's Philosophy for Sustainable Development

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English for Communication

กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป

General Education

เทอมที่ 2

คณิตศาสตร์ทางวิศวกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Computer Network Engineer Mathematics

พื้นฐานระบบดิจิทัล

Digital System Funcdamentals

เขียนแบบวิศวกรรม

Engineering Drawing

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม

Data Structure and Algorithms

หลักการการค้นหาและเลือกเส้นทางในระบบเครือข่าย

Routing and Switching Essentials (CCNA2)

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

General Education

เทอมที่ 1

ดีสครีตและการคำนวณ

Discrete Mathematics and Calculation Theory

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer Programming

การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล

Digital Signal Processing

ระบบปฏิบัติการ

Operating Systems

ระบบเครือข่ายองค์กร ความปลอดภัย และระบบอัตโนมัติ

Enterprise Networking, Security, and Automation (CCNA3)

เครือข่ายไร้สาย

Wireless Networks (CCNA Wireless)

เทอมที่ 2

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

Electrical Circuit Analysis and Electronics

ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

Computer Network Security (CCNA Security)

ระบบฐานข้อมูล

Database Systems

ปฏิบัติการเครือข่าย 1

Network Laboratory 1

การเขียนโปรแกรมเครือข่าย

Network Programming

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายโอเพนซอร์ส

Open Source Operating System

การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับวิศวกรเครือข่ายและคลาวด์

Machine Learning for Network and Cloud Engineers

เทอมที่ 1

การออกแบบระบบเครือข่าย

Network System Design

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครือข่าย

Network Performance Analysis

สัมมนาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Seminar in Computer Engineering

โครงการวิจัยทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Computer Engineering Research Project

เทอมที่ 2

ความปลอดภัยของไฟร์วอลล์

Firewall Security

การจัดการศูนย์ข้อมูล

Data Center Management

เตรียมสหกิจศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Computer Engineering Pre-Cooperative Education

กลุ่มวิชาเอกเลือก

Major Subject

วิชาเลือกเสรี

Electives Subject

เตรียมความพร้อมปฏิบัติการวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์

Preparation of Field Experience in Computer

เทอมที่ 1

สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Computer Engineering Cooperative

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์

Field Experience in Computer

เทอมที่ 2

วิชาเลือกเสรี

Elective Subject

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต

  • 1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

    1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
    2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 9 หน่วยกิต
    3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต

  • 1) วิชาแกน 24 หน่วยกิต
    2) วิชาเอกบังคับ 54 หน่วยกิต
    3) วิชาเอกเลือก 15 หน่วยกิต
    4) ฝึกประสบการณ์ภาคสนามและสหกิจศึกษา 4 หน่วยกิต

  • ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยไม่ซ้ำ กับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การ สำเร็จหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

เป็นหลักสูตรที่สร้าง บัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จะตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านดิจิทัล ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจหรือองค์การสามารถ บริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

งานวิจัย

  • - ขนิษฐา สิทธิเทียมจันทร์ และปรัชญา ใจสุทธิ. (2562). การประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน บริหารจัดการฟาร์มส าหรับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ครั้งที่ 3 วันที่ 18 -19 มกราคม 2562. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา, 74-82.
  • - วสุพล เผือกนำผล, ปรัชญา ใจสุทธิ และคณะ. (2562). การวิเคราะห์ความปลอดภัยของ เว็บไซต์โดยใช้ตัวสแกนช่องโหว่อะคูเนติกส าหรับสามภาคส่วนในจังหวัดจันทบุรี. การประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติและระดับชาติด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศประยุกต์ครั้งที่ 15 และการ ประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ 2019-1 วันที่ 8 มีนาคม 2562. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 364-368.
  • - ณัฐกาญจน์พึ่งเกิด, ปรัชญา ใจสุทธิและขนิษฐา สิทธิเทียมจันทร์. (2562). โปรแกรม ตรวจสอบเส้นทางที่เหมาะสมส่าหรับการท่องเที่ยว เชิงเกษตรและเชิงนิเวศในจังหวัดจันทบุรี. การ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศประยุกต์ ครั้งที่ 15 และการประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ 2019 วันที่ 8 มีนาคม 2562. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 313-317
  • - Wichan Thumthong, Hathaichanok Chompoopuen, Pita Jaupunphol. (2019). Image Processing Technique for Gender Determination from Medical Microscope Image. Proceedings of the 15th International Conference on Computing and Information Technology (IC2IT 2019). Bangkok, Thailand. 4 – 5 July 2019, 129-137.
  • - Wichan THumthong, Hathaichanok Chompoopuen. (2017). Image Processing Based Technique for Histological Parameter Measuring in Femur Bone for Age Estimation in Thai adult Cadavers. The 2017 Management and Innovation Technology International Conference: MITiCon2017. Ayutthaya, Thailand. 14-16 December 2017, 41.
  • - Wichan Thumthong. (2017). Information system for learning media management with participation via social media channel. 5 th In proceeding of the International Conference on Technical Education : ICTechEd5. November 2017. Bangkok, Thailand. 23-24 November 2017, 374-379.
  • ทวีศักดิ์ สัมมา, ปรัชญา ใจสุทธิและคณะ. (2562). LCLA : การกำหนดตำแหน่งของตัว กระจายสัญญาณเดี่ยวโดยพิจารณาพื้นที่ร่วมของวงกลม. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและ ระดับชาติด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศประยุกต์ครั้งที่ 15 และการประชุมวิชาการ ระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ 2019-1 วันที่ 8 มีนาคม 2562. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี, 369-374

อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนา ท้องถิ่นและประเทศอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐกาญจน์ พึ่งเกิด
Asst.Prof.Nathakran Phungkoed

อาจารย์ประจำสาขา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยนเรศวร

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (เทคโนโลยีการวัดคุมทางอุตสาหกรรม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขนิษฐา สิทธิเทียมจันทร์
Asst.Prof.Khanittha Sittitiamjan

อาจารย์ประจำสาขา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์วสุพล เผือกนำผล
Ajarn.Vasupon Phueaknumpol

อาจารย์ประจำสาขา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อาจารย์ปรัชญา ใจสุทธิ
Ajarn.Pratchaya Jaisutit

อาจารย์ประจำสาขา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์กัญญาภัค ศรีสุข
Ajarn.Kanyaphak Srisuk

อาจารย์ประจำสาขา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ดร.ชนิดาพร ปลื้มปรีดาพร
Dr.Chanidaporn Pleumpreedaporn

อาจารย์ประจำสาขา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

-->