งานวิจัยคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

การติดตามการขยายเขตเมืองในจังหวัดจันทบุรีด้วยข้อมูลสำรวจจากระยะไกลโดยกูเกิลเอิรธ์เอนจิน

บทความ "การติดตามการขยายเขตเมืองในจังหวัดจันทบุรีด้วยข้อมูลสำรวจจากระยะไกลโดยกูเกิลเอิรธ์เอนจิน (Urban Growth Monitoring in Ghanthaburi Using Remote Sensing Data on Google Earth Engine) นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คัมภีร์ ธีระเวชม, อาจารย์ขนิษฐา ยารักษ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ทบทอง ชั้นเจริญ ได้รับรางวัล Best Paper Award จากการประชุมวิชาการระดับชาติ The 15th National Conference on Information Technology (NCIT 2023) ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดโดย สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย 3 วัตถุประสงค์หลักได้แก่

  • เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์จากที่ดินด้วยข้อมูลการสำรวลจากระยะไกล ในช่วง พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ.2565
  • เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและศึกษารูปแบบการขยายเขตเมือง
  • เพื่อคาดการณ์การขยาขเขตเมือง พ.ศ.2570 ถึง 2575

บทคัดย่อ : ข้อมูลการสาํรวจจากระยะไกลโดยกเูกิลเอิรธ์ เอนจิน จำนวน 102 ภาพ จากดาวเทียม Landsat 5 TM และ Landsat 8 OLI ถูกใช้สำหรับจำแนกการใช้ที่ดิน 6 ประเภทย้อนหลัง 30 ปี ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ ของเครื่อง โดยอาศัยอัลกอริทึมป่าสุ่ม เพื่ออวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและ ศึกษารูปแบบการขยายเขตเมืองของพื้นที่ พบว่า พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2555 มีการใช้ที่ดินสำหรับพืชผลไม้ล้มลุกและพืชไร่มากเป็นอันดับ ที่ 1 โดยมีพื้นที่ 3,404.96 ตร.กม. 2,596.02 ตร.กม. 2,404.79 ตร.กม. 2,604.32 ตร.กม. และ 2,623.44 ตร.กม. ในทุก ๆ 5 ปี ตามลำดับ ในขณะที่พ.ศ. 2560 และพ.ศ. 2565 มีการใช้ที่ดินสําหรับพืชผลไม้ยืนต้นเป็นอันดับที่ 1 โดยมีพื้นที่ 2,695.83 ตร.กม. และ 2,516.83 ตร.กม. การขยายเขตของเมืองเพิ่มมากขึ้นสวนทาง กับพื้นที่พืชผลไม้ล้มลุก พืชไร่ และพืชผลไม้ยืนต้นที่ลดลง การคาดการณ์ ด้วยแบบจำลองซีเอ-มาร์คอฟ ชี้ให้เห็นแนวโน้มว่าในพ.ศ. 2570 และพ.ศ. 2575 จะมีการขยายตัวของพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 115.15 ตร.กม. และ 126.02 ตร.กม.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คัมภีร์ ธีระเวช

อาจารย์คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาภูมิสารสนเทศ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบของพื้นที่เกษตรกรรมมีปริมาณลดลงจนกระทังอาณาเขตของเมืองและชนบท