Admissions

คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย คณะมีพันธกิจในการสอน การวิจัย การบริการทางด้านวิชาการ การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการนำไปประยุกต์ใช้งาน เพื่อการสร้างและพัฒนาท้องถิ่นให้มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
(Bachelor of Science Program in Computer Science)

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์ หลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์ หลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้านกราฟิก มัลติมีเดีย หลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร หลักการทฤษฎีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่ชาญฉลาด (ระบบปัญญาประดิษฐ์) หลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการคำนวณและประยุกต์ใช้งานระดับสูง

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • นักพัฒนาโปรแกรม (Programmer)
  • ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analyst)
  • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์(System Administrator)
  • ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล(Database Administrator)
  • ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Project Software Manager)
  • นักวิขาการคอมพิวเตอร์(Computer Officer)

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Bachelor of Science Program in Information Technology)

มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานได้อย่างเหมาะสม

  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ (Design and Analysis )
  • ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ (Information Technology Management)
  • นักพัฒนาโปรแกรมบนเว็บและอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile and Web Developer)
  • นักพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีมัลติมีเดีย(Multimedia Technology Developer)
  • เจ้าของกิจการธุรกิจจออนไลน์(New Startup)

สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering)

เป็นหลักสูตรที่สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งการออกแบบพัฒนาระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ทันสมัย นำความรู้ด้าน Artificial Intelligence of Thing เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านดิจิทัล ในการบริหารจัดการดำเนินงานทางธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีระบบ มีความปลอดภัยและเป็นขั้นตอน เพื่อให้สามารถรองรับและนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรและสังคมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • วิศวกรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • วิศวกรระบบความปลอดภัยบนไซเบอร์
  • วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนาระบบสารสนเทศ
  • วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์
  • วิศวกรคอมพิวเตอร์
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • วิศวกรระบบฮาร์ดแวร์

สาขาภูมิสารสนเทศ
(Bachelor of Science Program in Geoinformatics)

ศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสำรวจระยะไกล ระบบดาวเทียมนำทางบนพื้นโลก การประมวลผลภาพดิจิทัลจากดาวเทียม เทคนิคการสร้างแผนที่สมัยใหม่รวมถึงเทคนิคทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมประยุกต์ทางด้านระบบภูมิสารสนเทศเพื่อมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและจัดการกับปัญหาเชิงพื้นที่

  • นักวิชาการแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
  • นักวิชาการภูมิสารสนเทศ
  • นักวิเคราะห์ผังเมือง
  • นักวิเคราะห์ผังเมือง
  • เจ้าหน้าที่ระบบภูมิสารสนเทศ

News&Events

น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ยกระดับภูมิสารสนเทศของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ

เมื่อวันที่ 17 มกราคม ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รองประธานกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (กภช.) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านภูมิสารสนเทศของประเทศ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาชั้นข้อมูลพื้นฐานของประเทศ ด้านการส่งเสริมการลงทุน การพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ และ ด้านการกำหนดตำแหน่งนักภูมิสารสนเทศในระบบราชการพลเรือน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านภูมิสารสนเทศโดยมุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ


Research

โครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาระบบเฝ้าระวังช้างป่าบุกรุกในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนและช้างด้วยเทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน"

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์วสุพล เผือกนําผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาญ ทุมทอง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฏิคม ทองจริง. ได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 15 มกราคม - ธันวาคม 2566 อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 ในบทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบเฝ้าระวังช้างป่าบุกรุกในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนและช้างด้วยเทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน"

โครงการวิจัยเรื่อง "การติดตามการขยายเขตเมืองในจังหวัดจันทบุรีด้วยข้อมูลสำรวจจากระยะไกลโดยกูเกิลเอิรธ์เอนจิน"

ผศ.ดร. คัมภีร์ ธีระเวช อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ อาจารย์ขนิษฐา ยารักษ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ทบทอง ชั้นเจริญ ได้รับรางวัล Best Paper Award จากการประชุมวิชาการระดับชาติ The 15th National Conference on Information Technology (NCIT 2023) ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดโดย สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

แอปพลิเคชันเพื่อการจัดเก็บข้อมูลพืชคลุมดินป่าชายหาด

อาจารย์กัญญาภัค ศรีสุข อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ ผศ.ทบทอง ชั้นเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องแอปพลิเคชันเพื่อการจัดเก็บข้อมูลพืชคลุมดินป่าชายหาด ในงานการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 46 (The 46th Electrical Engineering Conference (EECON-46)) ประเภทงานประชุมวิชาการระดับชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2566 ณ ดีว่าน่าพลาซ่า กระบี่ อ่าวนาง จังหวัดกระบี่

โครงการวิจัย เรื่อง การประยุกต์รั้วไร้สายเพื่อการเตือนภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก

ผศ.ดร. คัมภีร์ ธีระเวช อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ และ พลเรือตรีอนุสรณ์ ยังคุ้มญาติ จากสำนักงานผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านห้วยใต้ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

การจำแนกโรคต้อหินด้วยการเรียนรู้เชิงลึก

การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงลึก และคิดค้นอัลกอริทึมของโปรแกรมเพื่อให้ทำการวิเคราะห์ภาพให้ถูกต้อง และมีความแม่นยำ โดยโปรแกรมวิเคราะห์ภาพโรคต้อหินเพื่อจำแนกจอประสาทตาโรคต้อหินด้วยการเรียนรู้เชิงลึก และทราบความแม่นยำและประสิทธิภาพในการประมวลผลภาพเพื่อแยกภาพเป็นโรคต้อหิน และไม่เป็นโรคต้อหิน

การจำแนกเสียงเรือด้วยเทคนิคดีมอนและโลฟาร์บนไมโครคอนโทรเลอร์ STM 32

รายงานสื่บเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 16 (The 16th National Conference on Computing and Information Technoloy : NCCIT-2020) วันที่ 14-15 เมษายน 2563 จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หน้า 425-430

Campus Life

Our faculty provides a broad range of services and support to student , including leadership development, academic service programs, student relationship , career exploration and community engagement.

  • All
  • Academic
  • Activities
  • Contest

งานประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 16

Contest

การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 12

Contest

การแข่ง Huawei ICT competition 2023-24 ด้าน Network Track

Contest

การแข่งขัน Rapid Prototype Development Challenge (RPD challenge) 2022

Contest

โครงการวิจัย เรื่อง การประยุกต์รั้วไร้สายเพื่อการเตือนภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก

Academic

การประชุมวิชาการนิสิต นักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15

Contest

Freshy 2022 Star Contest

Activity

กิจกรรมวิ่งโป่งลานและไหว้ครู 2565

Activity

การแข่งขัน 2021 MGA Rapid Prototype Development Challenge

Contest

กิจกรรมวันเข้าพรรษา

Activity

โครงการศึกษานวัตกรรมระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

Academic

โครงการ AI-YARA ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนช้าง

Academic

Partnership

Our computing graduates have been successful in finding employment in business, industry, research and education. We welcome both international and local cooperation.

E-Books

ผศ.ปฏิคม ทองจริง

การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย Node.js และ Express Framework หนังสือการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย Node.js และ Express Framework เล่มนี้จะเริ่มต้นการแนะนำ Node.js ความเข้าใจการทำงาน และการติดตั้ง การนำไปใช้งานในการพัฒนาในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (ฝั่ง Frontend) การนำ Express Framework มาช่วยในการพัฒนา

ผศ.วิชาญ ทุมทอง

การพัฒนา MVC Web Application ด้วย Laravel Freamwork การพัฒนา MVC Web Application ด้วย Laravel Freamwork

ผศ.วิชาญ ทุมทอง

การพัฒนา Hybrid Mobile Application ด้วย Ionic Framework เรียนรู้การพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล ซีเอสเอส และจาวาสคริปต์แบบง่าย ๆ ราคา 290 บาท (ติดต่อสำนักงานคณะ)

ผศ.ปฏิคม ทองจริง

ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) ศึกษาความหมายวิวัฒนาการและบทบาทหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ การจัดการโพรเซสของ ระบบ และการทำงานร่วมกันระหว่างโพรเซส ฯลฯ

Facilities

The mission of the Faculty of CSIT is to give the best academic support to the students. Thus, we provide up-to-date computer and IT facilities to support students’ academic development and to enhance their learning and living potential in while learning at university. The University provide internet service in every classroom and laboratory has access to the internet through wired and wireless connections. In addition, Our university have sport stadium, swim pool, computer shop, coffee shop, convenience store and etc for student's convienience service.

Contact Us

The Faculty of Computer Science and Information Technology plays a leading role on computer sciences and information technology in this region of Thailand. The faculty aims include introduction to the specifications, analysis, design and implementation of software systems. We provide our students with the strong fundamental study of computer sciences and its application in an interdisciplinary context.

Our Address

41 หมู่ 5 ถนนรักศักดิ์ชมูล ต.ท่าช้าง อ.เมือง จันทบุรี 22000
41 M.5 Tambol.Tachang , Aumpher.Muang , Chanthaburi Province 22000

Email Us

csit@rbru.ac.th

Call Us

+66 039-319111 #11100