Contest

  • Category: การประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8
  • Owner: คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • Update date: February 15, 2020
  • URL: www.csit.rbru.ac.th

การประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8

เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2563 นักศึกษานักศึกษาสาขาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8 (The 8th Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC 2020) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการประชุมวิชาการครั้งนี้มีผลงานของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมจำนวน 54 มหาวิทยาลัย และมีผลงานที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการทั้งแบบบทความวิจัย (บรรยาย) และโปสเตอร์ รวมทั้งสิ้น 321 ผลงาน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ส่งผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาภูมิศารสนเทศ ประเภทบทความวิจัย จำนวน 5 ผลงาน และได้รับรางวัลทั้ง 5 ผลงาน ได้แก่ โปสเตอร์ 3 ผลงาน
     1. นางสาวบัณฑิตา ศิลาอาสน์ เรื่อง การเปรียบเทียบเทคนิคการสกัดข้อมูลอาคารด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากยูเอวี อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.วิระ ศรีมาลา ได้รับรางวัล Excellence
     2. นางสาวธนพร สุวดิษฐ์ เรื่อง การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินราคาขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยปัจจัยเชิงพื้นที่ กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดระยอง อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.วิระ ศรีมาลา ได้รับรางวัล Very Good
     3. นางสาวตะวัน เรื่อง แสนจันทร์การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสรเทศ เพื่อศึกษาความเหมาะสมเชิงพื้นที่สำหรับการปลูกข้าวนาปีและนาปรัง อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.วิระ ศรีมาลา
ได้รับรางวัล Very Good บทความวิจัย (บรรยาย)
    1. นายธนวัฒน์ ปรีชาโชติ เรื่อง การศึกษาการควบคุมยานไร้คนขับผ่านโพรโทคอลแมฟลิงก์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.คัมภีร์ ธีระเวช และได้รับรางวัล Very Good จำนวนสองผลงาน
    2. นายพงศ์ระพี นุชพงษ์ เรื่อง การพัฒนาระบบถ่ายโอนข้อมูลภาพสัตว์ป่าระยะไกล อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.คัมภีร์ ธีระเวช ได้รับรางวัล Good
การจัดประชุมวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ในครั้งนี้ จะเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญให้ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป ศึกษาวิจัยองค์ความรู้ใหม่ และแนวทางการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ค้นพบเผยแพร่ออกไปอย่างแพร่หลายในวงกว้าง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินงานภาคอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว การเกษตร การสาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ ซึ่งส่งผลดีโดยรวมต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป